ตรวจสอบการดำเนินการจัดการสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
วันที่ 17-20 พฤษภาคม 2565
ดร.สุทธิพล เอี่ยมประเสริฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 มอบหมายให้ นางสาวกุลลดา เอกบุญชู ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี และสำนักงานเทศบาลเมืองชะอำ และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางสะพานน้อย สำนักงานส่งเสริมองค์กรปกครองท้องถิ่นอำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง เทศบาลตำบลบางสะพานน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก องค์การบริหารส่วนตำบลทรายทอง องค์การบริหารส่วนตำบลไชยราช องค์การบริหารส่วนตำบลช้างแรก องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะพาน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย และองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวน้อย ตรวจสอบการดำเนินการจัดการสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 1 แห่ง และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 8 แห่ง เพื่อตรวจสอบและประเมินสถานภาพการดำเนินงานสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และประเมินปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างสะสม พร้อมให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ มีการจัดการแบบฝังกลบเป็นครั้งคราว โดยอยู่ระหว่างขนย้ายดินสำหรับฝังกลบมาไว้ในพื้นที่ และมีแนวนโยบายสร้างระบบคัดแยกขยะ เพื่อลดปริมาณขยะที่ฝังกลบ
2) สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ตำบลปากแพรก ตำบลทรายทอง ตำบลไชยราช ตำบลช้างแรก และตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- แบบเทกองกลางแจ้ง 4 แห่ง
- แบบเตาเผา 2 แห่ง
ทั้งนี้ เป็นการตรวจติดตามประเมินปัญหาเชิงพื้นที่ เพื่อประกอบการนำไปวางแผนการจัดการขยะมูลฝอยแบบรวมกลุ่มพื้นที่ (cluster) ของพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์โซนใต้ เนื่องจากบางพื้นที่ประสบปัญหาไม่มีพื้นที่กำจัดขยะมูลฝอย
3) สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ตำบลห้วยทราย และตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ โดยมีการจัดการแบบเทกองกลางแจ้ง 1 แห่ง และแบบเตาเผา 1 แห่ง
ทั้งนี้ ผลการประเมินสถานภาพการจัดการสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ยังมีการจัดการถูกต้องตามหลักวิชาการ บางแห่งจึงพบมีปริมาณขยะสะสมในพื้นที่ โดยให้คำแนะนำทางวิชาการ เพื่อลดกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลกระทบสุขภาพของประชาชน พร้อมทั้งให้ข้อแนะนำในการเฝ้าระวังและมาตรการป้องกันเหตุเพลิงไหม้รวมถึงการส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวาระแห่งชาติเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG Model) ต่อไป